วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

18 ตัวนำ กึ่งตัวนำ และฉนวน

18 ตัวนำ กึ่งตัวนำ และ ฉนวน

  โครงสร้างอะตอมตามทฤษฎีของโบร์มีลักษณธของระดับพลังงานเป็นชั้นๆ สามารถใช้อธิบายเมื่ออะตอมอยู่โดเดี่ยว หรืออะตอมอยู่ในสถานะแก๊ส
   เมื่ออะตอมอยู่ชิดกันจนเปลี่ยนสถานะแก๊สเป็นของแข็ง  พลังงานในอะตอมจะเปลี่ยนลักษณะไปเป็น แถบพลังงาน  ที่เป็นเช่นนี้เพราะระดับพลังงานของอะตอมอยู่ชิดกันจนซ้อนทับกัน ลักษณะของแถบพลังงานมี3ส่วนคือ แถบวาเลนซ์ แถบว่าง และแถบนำไฟฟ้า ทฤษฎีแถบพลังงานนนี้สามารถอธิบายตัวนำ กึ่งตัวนะ และฉนวนได้

                                                      
ก. ระดับพลังงานในของแข็ง
 

ข. ระดับพลังงานในอะตอมเดี่ยว

รูป 19.53 เปรียบเทียบระดับพลังงานของของแข็ง และอะตอมเดี่ยว


ในกรณีของธาตุอะตอมเดี่ยว เช่น แก๊สไฮโดรเจน (เป็นแก๊สที่อุณหภูมิ 25^ \circ C) ) ระดับพลังงานจะเป็นดังรูป 19.53 ข. ส่วนของแข็งที่เป็นโลหะและอโลหะจะมีระดับพลังงานเป็นแถบ (energy band) ดังรูป 19.53 ก. แถบที่มีอิเล็กตรอนเต็มจะมีพลังงานต่ำกว่าเรียกว่าแถบวาเลนซ์ (valence band) เป็นแถบที่ไม่นำไฟฟ้า สำหรับแถบพลังงานที่อยู่สูงขึ้นไปเรียกว่าแถบนำไฟฟ้า (conduction band)

ตัวนำ (conductor)
  จะมีอิเล็กตรอนเต็มในแถบวาเลนซ์ และมีอิเล็กตรอนอยู่บ้างในแถบนำไฟฟ้า เมื่อให้สนามไฟฟ้าก็จะเกิดการนำไฟฟ้าขึ้น
ฉนวน (insulator)  จะมีอิเล็กตรอนเต็มในแถบวาเลนซ์ และไม่มีอิเล็กตรอนอยู่ในแถบนำไฟฟ้า มีช่องว่างระหว่างแถบพลังงาน (energy gap) ทั้งสอง ช่องว่างนี้จะกว้างมากจนเมื่อให้พลังงานไฟฟ้า(ในรูปของศักย์ไฟฟ้า) หรือพลังงานความร้อน หรือพลังงานแสง ก็ไม่สามารถทำให้อิเล็กตรอนในชั้นแถบวาเลนซ์ ถูกกระตุ้นขึ้นมาที่แถบนำไฟฟ้า จึงไม่มีการนำไฟฟ้า
<b>กึ่งตัวนำ (semiconductor)  จะมีอิเล็กตรอนเต็มแถบวาเลนซ์คล้ายฉนวน แต่มีช่องว่างพลังงานเหนือแถบนั้นค่อนข้างแคบ ที่อุณหภูมิปกติ พลังงานความร้อน สามารถกระตุ้นให้อิเล็กตรอนเหล่านี้เองที่เป็นพาหะ (carrier) ของไฟฟ้าและทำให้นำไฟฟ้าได้บ้าง ทำให้ความต้านทานไม่สูงมากนักและนับเป็นสารกลุ่มกึ่งตัวนำ สารกึ่งตัวนำบางชนิดสามารกระตุ้นอิเล็กตรอนจากแถบวาเลนซ์ให้ขึ้นไปแถบนำไฟฟ้าได้ด้วยแสง และสามารถนำมาใช้เป็นประเภทLDR (Light Dependent Resistance) หรือเป็นตัวรับรู้ (sensor) แสง
ในทางปฏิบัติจะมีการใช้ฉนวน เช่น ยาง พลาสติก ทำที่หุ้มสายไฟฟ้าที่ทำจากโลหะซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้า ส่วนตัวต้านทานที่ใช้ในวงจรไฟฟ้าและวงจรอิเล็กทรอนิกส์นั้นจะมีค่าความต้านทานไฟฟ้าอยู่ระหว่างตัวนำกับฉนวน คือมีค่าตั้งแต่ 1 โอห์ม ถึง 100 เมกะโอห์ม
 



17 เลเซอร์


17  เลเซอร์(  LASER )
                         เลเซอร์  เป็นแสงความเข้มสูงที่มีความถี่เดียวและเฟสเดียวกัน
                         หลักการ
                         1.  ให้อะตอมของสารถูกกระตุ้นโดยพลังงานภายนอก  เช่น  แสง  ไฟฟ้า  ให้พลังงานสูงขึ้นไปยังสถานะถูกกระตุ้นที่ไม่เสถียร (3)
                         2.  อิเล็กตรอนปลดปล่อยพลังงานทันทีในรูปพลังงานแสงที่ไม่เป็นแสงอาพันธ์  แล้วตกลงมาสู่สถานะถูกกระตุ้น (2)  เรียกว่าสถานะกึ่งเสถียร (meta-stable  state)
                         3.  อิเล็กตรอนจากสถานะถูกกระตุ้น (2)  ใช้เวลาพอประมาณ  กลับมาที่สถานะ (1) พร้อมกับปลดปล่อยพลังงานในรูปของแสงอาพันธ์
                         กลไกในเครื่องเลเซอร์ประกอบด้วยกระจกพิเศษ  2  บาน (บานหนึ่งสะท้อน  100% อีกบานหนึ่งสะท้อนไม่ถึง  100โดยให้แสงทะลุผ่านได้บ้าง)  ทำการสะท้อนแสงกลับไปมาในเครื่อง  กระตุ้นให้อะตอมอื่นที่อยู่ในสถานะ (2)  ปลดปล่อยแสงอาพันธ์ออกมาเสริมกันในทิศทางเดียวกันที่มีความเข้มสูง เรียกว่า  เลเซอร์(  LASER )
                        

                         คลื่นเลเซอร์ที่เกิดขึ้นจะมีหลายชนิดและหลายแบบ  เช่น คลื่นเลเซอร์จากก๊าซผสมของฮีเลียมกับนิออนคลื่นเลเซอร์จากอิออนของก๊าซอาร์กอน  คลื่นเลเซอร์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นต้น โดยทั่วไปคลื่นเลเซอร์จะมีกำลังอยู่ในช่วงตั้งแต่ 10-3 -106  วัตต์  เราจึงใช้คลื่นเลเซอร์เพื่อประโยชน์ในหลายๆด้านด้วยกัน  เช่น ใช้ในด้านดนตรีได้แก่แผ่นเลเซอร์ดิสซ์ ใช้คลื่นเลเซอร์ในการเชื่อมโครงรถยนต์  ใช้แสงเลเซอร์ในการวัดระยะทางในงานสำรวจจะให้ค่าที่มีความแม่นยำสูง  ใช้คลื่นเลเซอร์ในการสื่อสารทางโทรศัพท์ระยะไกลๆ ใช้คลื่นเลเซอร์ในการศึกษาโครงสร้างอะตอมของธาตุต่างๆ  ในการแพทย์  ใช้แสงเลเซอร์ในการรักษาโรคกระดูก  ในการอุดฟัน  และในการรักษาตาทำให้คนสายตายาวและสายตาสั้นไม่ต้องใส่แว่น

16 หลักความไม่แน่นอน


16 หลักความไม่แน่นอนและโอกาสที่จะเป็นไปได้ (Uncertainty  Principle)
                1. ในการพิจารณาอิเล็กตรอน ตามหลักทวิภาพของคลื่นและอนุภาคพบว่า  ถ้าอิเล็กตรอนเป็นอนุภาค เราคิดถึงอนุภาคในลักษณะที่มีขนาดแน่นอนและขนาดเล็กมาก ถ้าคิดว่าอิเล็กตรอนเป็นคลื่น  ขนาดและตำแหน่งของคลื่นย่อมกระจายอยู่ในอาณาเขตอันหนึ่ง แต่ไม่สามารถบอกได้ชัดว่าอยู่ที่ใด
                2. ในการศึกษา Quantum  Mechanics ไฮเซนเบอร์กได้ตั้งหลัก ความไม่แน่นอน  กล่าวคือ  ตำแหน่งและโมเมนตัมของอนุภาคไม่สามารถที่จะบอกได้ว่าอนุภาคอยู่ ณ  ที่ใดที่หนึ่ง และมีค่าโมเมนตัมที่แน่นอนเท่าใด หลักการนี้ปรากฏว่าใช้ได้ทั้งสสารและโฟตอน กล่าวโดยสรุปหลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบอร์ก  เป็นความไม่แน่นอนทางตำแหน่ง และทางโมเมนตัมของอนุภาค เขียนเป็นสูตรได้
                                            Δx . ΔP      


                                เมื่อ   Δx    คือ ความไม่แน่นอนในการบอกตำแหน่ง (m)
                                         ΔP    คือ ความไม่แน่นอนในการบอกโมเมตัม (kg.m/s)
                                 คือ   =  1.05 x 10 -34   J.s

- โครงสร้างอะตอมตามทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม

                         ตามหลักความไม่แน่นอน  เราไม่สารมารถระบุได้ว่าอิเล็กตรอนเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสอยู่ในตำแหน่งใดได้แน่นอน  เราบอกได้เพียงแต่โอกาสจะพบอิเล็กตรอน ณ ตำแหน่งต่างๆ ว่าเป็นเท่าใดเท่านั้น  ดังนั้นโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอน  ณ  ตำแหน่งต่างๆ  ว่าเป็นเท่าใดเท่านั้น  ดังนั้นโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสจึงมีลักษณะเป็นกลุ่มหมอกทรงกลมห่อหุ้มนิวเคลียสในระดับชั้นพลังงานต่างๆ  ดังรูป 


                         แนวคิดของกลศาสตร์ควอนตัมที่มีโอกาสจะพบอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสมีลักษณะเป็นกลุ่มหมอก  สามารถอธิบายความไม่สมบูรณ์ของทฤษฎีของโบว์  ถึงการแยกเส้นสเปกตรัมหนึ่งเส้นเป็นหลายเส้น  เมื่ออะตอมอยู่ในสนามแม่เหล็กได้
                  จะเห็นได้ว่าระดับพลังงานาของอิเล็กตรอนในอะตอมไนโดรเจนในระดับต่าง ๆ  จะได้จากกลศาสตร์ควอนตัมสอดคล้องกับทฤษฎีของโบว์ แต่อะตอมใหญ่ ๆ  ระดับพลังงานที่ได้จากทฤษฎีทั้งสองต่างกัน  แต่ผลที่ได้จากกลศาสตร์ควอนตัมถูกต้องกว่า

15 กลศาสตร์ควอนตัม


15   กลศาสตร์ควอนตัม (Quantum  Mechanics)
                1. Quantum  Mechanics  เป็นวิชาสำหรับอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆในระดับอนุภาคที่มีขนาดเล็ก ๆ เท่ากับอะตอม เช่น  การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน เพราะกฏของนิวตันไม่สามารถให้รายละเอียดได้
                2. Quantum  Mechanics  เป็นศาสตร์ของ Matter  Waves  ที่ให้หลักสมบูรณ์ในการศึกษาเรื่องอะตอมในปัจจุบัน
                3. Quantum  Mechanics  จะกล่าวถึงโอกาสที่จะเป็นไปได้  ในการที่จะบอกว่า อิเล็กตรอนอยู่ที่ไหน  หรือจะพบได้ที่ไหน ที่บริเวณหนึ่ง ๆ
                4. ในการคิดค้นกลศาสตร์ควอนตัม โซรดิงเจอร์ (Evwin  Schrodinger)  นักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย  ได้คิดสมการของคลื่น โดยอาศัยหลักการของ  de  Broglie  โดยใช้เทอมความยาวช่วงคลื่นของ (l = h/p = h/mv) ซึ่งสมการนี้เรียกว่า  Schrodinger  Equation  สมการของโซรดิงเจอร์  มีความสำคัญในการอธิบายการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในอะตอม , โมเลกุลและในผลึก ได้อย่างถูกต้องและสามารถพิสูจน์ได้ว่าระดับพลังงานของอิเล็กตรอนในอะตอม ไม่ต่อเนื่องกัน

14 ทวิภาพของคลื่นและอนุภาค


14    ทวิภาพของคลื่นและอนุภาค  (Ware-Particle dualify)           
                1.  เราทราบว่าแสงแสดงคุณสมบัติเป็นคลื่นเพราะ แสดงการเลี้ยวเบนและการแทรกสอด (Diffraction  and  Interence)
                2.  จากปรากฎการณ์โฟโตอิเล็กทริก ไอน์สไตน์คิดว่า โฟตอนเป็นอนุภาค
                3.  มิลลิแกนทดลองและสรุปว่า แสงเป็นอนุภาค
                4.  เดอ บรอยล์ (de  Broglie) ให้แนวคิดว่า ถ้าแสงแสดงคุณสมบัติคู่เป็นได้ทั้งอนุภาคและคลื่นแล้ว  สสารทั้งหลายแสดงคุณสมบัติของคลื่นได้เนื่องจากสสารประกอบด้วยอนุภาค
                5. แนวคิดของเดอบรอยล์ เกี่ยวกับอิเล็กตรอน
                                จากความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับมวลของไอน์สไตน์
                                                E  =  mc2  และ  E  =  hf
                                เดอบรอยล์  หาความสัมพันธ์ระหว่างโมเมนตัมและความยาวคลื่นของแสงได้ดังนี้
      

เมื่อ  คือ  โมเมนตัมของโตอน (N.s)
        l คือ  ความยาวคลื่นของโฟตอน (m)
=

เมื่อ l คือ  ความยาวคลื่นของอนุภาค (m
                                                       คือ  มวลของอนุภาค (kg)
                                                        v  คือ  ความเร็วของอนุภาค (m/s)
                ความยาวคลื่นของอนุภาคหรือความยาวคลื่นสสารนี้  เรียกว่า  ความยาวคลื่น  เดอ  บรอยล์

- ปรากฏการณ์คอมป์ตัน

                 คอมป์ตัน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มของรังสีเอกซ์และขนาดของมุมการกระเจิงกับความยาวคลื่นกระเจิงของรังสีเอกซ์  จากการฉายรังสีเอกซ์ให้ไปกระทบกับอิเล็กตรอนของแท่งแกรไฟต์  พบว่า  ความยาวคลื่นรังสีเอ็กซ์ที่กระเจิงออกมาแปรผันกับมุมที่กระเจิง  แต่ไม่ขึ้นกับความเข้มของรังสีเอกซ์ที่กระทบกับอิเล็กตรอน



                จากปรากฏการณ์อธิบายโดยอาศัยหลักแนวคิดของไอน์สไตน์ได้อย่างเดียวว่าการชนระหว่างรังสีเอกซ์กับอิเล็กตรอนของแกรไฟต์เป็นการชนระหว่างอนุภาคกับอนุภาค  โดยเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์พลังงานและกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม ดังนี้
                1.  รังสีเอกซ์ที่กระเจิงออกมาโดยมีความยาวคลื่นเท่าเดิม  แสดงว่าโฟตอนของรังสีเอกซ์กับอิเล็กตรอนของแท่งแกรไฟต์ชนกันแบบยืดหยุ่น
                2.   รังสีเอกซ์ที่กระเจิงออกมาโดยมีความยาวคลื่นไม่เท่าเดิม  แสดงว่า โฟตอนของรังสีเอกซ์กับอิเล็กตรอนของแท่งแกรไฟต์ชนกันแบบไม่ยืดหยุ่น

-  สมมติฐานของเดอ  บรอยล์

                 ในปี ค. . 1924  นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสชื่อหลุยส์ เดอบรอยล์  (Louis  de  Broglie ) ได้ให้ความเห็นว่าแสงมีคุณสมบัติเป็นได้ทั้งคลื่นแสงและอนุภาค กล่าวคือในกรณีที่แสงมีการเลี้ยวเบนและการสอดแทรก แสดงว่าขณะนั้นแสงประพฤติตัวเป็นคลื่น  สำหรับกรณีแสงในปรากฎการณ์โฟโตอิเล็กทริก แสดงว่าแสงเป็นอนุภาค  ฉะนั้นสสารทั่วไปที่มีคุณสมบัติเป็นอนุภาคก็น่าจะมีคุณสมบัติทางด้านคลื่นด้วย เดอบรอยล์ได้พยายามหาความยาวคลื่นของคลื่นมวลสาร โดยทั่วไปเริ่มจากความยาวคลื่นของแสงก่อน ดังต่อไปนี้
                         ถ้าแสงมีความถี่  จะให้พลังงานออกมาเป็นอนุภาคเรียกว่าโฟตอนซึ่งมีขนาด
                                                      E    =   h

                        จากทฤษฎีสัมพัทธภาพของ ไอน์สไตน์ มวล m ถ้าเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจะมีค่าเท่ากับ  mc2  ดั้นนั้นถ้าเราต้องการหามวลของโฟตอน เราสามารถหาได้จากสมการของไอน์สไตน์
                                          จาก      E    =    mc2   
                                      ให้โฟตอนขนาด  hf   มีมวลเท่ากับ  m
                                      แทนค่าในสมการไอน์สไตน์จะได้    hf   =  mc2  
                                                         

                                               
                                         แต่ mc   =    โมนเมนตัมของโฟตอน  = P

                         เดอบรอยล์มีความเห็นว่าเมื่อสมการข้างบนเป็นจริงสำหรับกรณีของโฟตอน ก็ควรจะเป็นจริงกับอนุภาคด้วย
                         ดังนั้น  อนุภาคที่มีมวล  m  วิ่งด้วยความเร็ว  V ก็น่าจะประพฤติตัวเป็นคลื่นที่มีความยาวคลื่น   l   ได้เช่นกัน  
                         นั่นคือความยาวคลื่นของอนุภาคของมวล ที่วิ่งด้วยอัตราเร็ว  V ย่อมมีค่า


                        นอกจากนี้แนวความคิดของเดอ บรอยล์    ยังได้รับการสนับสนุนจากการทดลองของเดวิสสันและเกอร์เมอร์โดยการยิงลำอิเล็กตรอนผ่านผลึก  ซึ่งมีอะตอมเรียงกันเป็นระเบียบ  ปรากฏว่าลำอิเล็กตรอนเกิดการเลี้ยวเบนขึ้น  จึงแสดงว่าขณะนั้นการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนเป็นคลื่น



 

รูปแสดงการเลี้ยวเบนของลำอิเล็กตรอน         รูปแสดงการเลี้ยวเบนของลำอิเล็กตรอน
                       ที่ผ่านผลึกทองคำ                                                       แผ่นอะลูมิเนียม
ข้อสังเกต    1. คลื่นที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนเรียกคลื่นอนุภาค เราหาความยาวคลื่นได้    
                                             จาก      
                   2.  คลื่นที่เกิดจากการเร่งอิเล็กตรอนเข้าชนชนโลหะแข็งเรียกคลื่นรังสีเอกซ์เป็นโฟตอน
                                       หาความยาวคลื่นได้จาก  

- ความไม่สมบูรณ์ของทฤษฎีอะตอมของโบว์

- ความไม่สมบูรณ์ของทฤษฎีอะตอมของโบว์
            1.  ทฤษฎีอะตอมของโบว์สามารถอธิบายถึงการจัดเรียงอิเล็กตรอนและสเปกตรัมของอะตอมไฮโดรเจนได้  แต่ไม่สามารถอธิบายการจัดเรียงอิเล็กตรอนและสเปกตรัมของอะตอมอื่นๆ ได้
                2.   ทฤษฎีอะตอมของโบว์ไม่สามารถอธิบายได้ว่าอิเล็กตรอนที่โคจรรอบนิวเคลียสด้วยความเร่ง  เพราะสาเหตุใดไม่แผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา
                3.   ทฤษฎีอะตอมของโบว์ไม่สามารถอธิบายได้ว่า  เพราะสาเหตุใดอะตอมที่อยู่ในสนามแม่เหล็กเส้นสเปกตรัมเส้นหนึ่งๆ  แยกออกเป็นหลายเส้นได้



13 รังสีเอ็กซ์


13 รังสีเอ็กซ์ 
             เรินต์เกน (Wilhelm Konrad Roentgen ) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ได้พบรังสีเอกซ์  โดยบังเอิญ  ในปีพ.. 2438 (.. 1895 )   ในขณะที่กำลังทดลองเกี่ยวกับรังสีแคโทด เรินท์เกน คลุมหลอดทดลองด้วยกระดาษดำในห้องทดลองที่มืด   ขณะที่ประจุเคลื่อนที่ในหลอด    เขาสังเกตเห็นแสงเรืองขึ้นบริเวณโต๊ะที่ทำการทดลอง  แสดงว่าจะต้องมีรังสีบางชนิดที่มอง   ไม่เห็นและสามารถทะลุออกมาจากหลอดแคโทด   ซึ่งแสดงว่ามีอำนาจทะลุทะลวงสูง   รังสีนี้เขาตั้งชื่อว่า   X – ray   
                คุณสมบัติของรังสีเอกซ์
              1.  ไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า
              2.   เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก
1.             มีอำนาจทะลุทะลวงสูง
2.             ทำให้ก๊าซแตกตัวเป็นไอออนได้
3.             ทำให้สารเรืองแสงเกิดสารเรืองแสงได้
4.             ทำปฏิกิริยากับแผ่นฟิล์ม
5.             รังสีเอกซ์มีอันตรายและทำลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้
6.             เมื่อรังสีเอกซ์  กระทบบนแผ่นโลหะสามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์โฟโตอิ
เล็กทริกได้   ทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกมาด้วยความเร็ว  6 x105 ถึง  8.3 x 105 เมตร/วินาที
การเกิดรังสีเอกซ์
                                การเกิดรังสีเอกซ์เกิดจากอิเล็กตรอนวิ่งเข้าชนอะตอมของเป้าทังสเตนแล้วหยุด จะปลดปล่อยรังสีเอกซ์ที่มีพลังงานสูงสุด   หรือเมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ช้าลงจะปลดปล่อยพลังงานค่าต่างๆ เมื่ออิเล็กตรอนวิ่งชนอะตอมของเป้าแล้วหยุด  พลังจลน์ทั้งหมดของอิเล็กตรอนจะเปลี่ยนเป็นพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในรูปของรังสีเอกซ์  ดังนั้น

 

Ekmax    =    eV    =    hfmax

 eV = 



 

lmin  =

                เมื่อ    lmin   =   ความยาวคลื่นของรังสีเอกซ์ (m)
                                h     =    ค่าคงตังของแพลงค์       =    6.6  x  10-34    J/ S
                                e     =     ประจุของอิเล็กตรอน     =     1.6   x   10-19     C
                                V    =     ความต่างศักย์ที่ใช้เร่งประจุ   =     200   x  103   V
                                c     =     ความเร็วแสง    =   3.0   x   108    m/s

12 การทดลองของฟรังก์และเฮิรตซ์


12   การทดลองของฟรังก์และเฮิรตซ์
                1. ฟรังก์และเฮิร์ตซ์ได้ทำการทดลองเรื่องการชนกันของอะตอมต่างๆ โดยใช้ประจุอิเล็กตรอนกับอะตอมของปรอท
                2. เมื่ออิเล็กตรอนชนกับอะตอมของปรอทจะทำให้เกิดการถ่านเทพลังงานจากอิเล็กตรอนไปยังอะตอม และพลังงานที่อะตอมได้รับจะถ่ายทอดต่อไปยังอิเล็กตรอนในอะตอมอีกต่อหนึ่ง ถ้าพลังงานมากพอที่จะทำให้เกิดอิเล็กตรอนหลุดออกมาเป็นอิสระแสดงว่าเกิดการ  Ionization
                3. จากการทดลองของฟรังก์และเฮิรตซ์  พบว่า
                                3.1 ถ้าพลังงานจลน์ที่อิเล็กตรอนต่ำกว่า  4.9  eV  (ความต่างศักย์ที่ใช้เร่งอิเล็กตรอนต่ำกว่า 4.9  eV ) การชนระหว่างอิเล็กตรอนและอะตอมของปรอทจะเป็นการชนแบบยืดหยุ่น (elastic  collision) คือ Ek  ก่อนชนเท่ากับ Ek  หลังชนนั่นแสดงว่า อิเล็กตรอนไม่สามารถทำให้อะตอมของปรอดเปลี่ยนระดับพลังงานจาก Ground  State  ได้ เพราะอะตอมของปรอทไม่สามารถดูดกลืนพลังงานจลน์ที่ต่ำกว่า  4.9  eV ได้
                                3.2  เมื่อเพิ่มพลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนเป็น  4.9  eV ทำให้อะตอมของปรอทเปลี่ยนระดับพลังงานจาก Ground  State  (E1ไปยัง  Excited  State (E2)  ครั้งแรกสุดของการกระตุ้นได้
                                3.3 ถ้าเพิ่มพลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนขึ้นไปอีก ก็จะกระตุ้นอะตอมของปรอทอะตอมที่สอง และอะตอมที่สามได้อีกเรื่อยๆ แต่ทุกอะตอมของปรอทยังคงต้องการพลังงานจลน์  4.9 eV  เหมือนเดิม
                                3.4 ถ้าอะตอมของปรอทที่ถูกกระตุ้นไปอยู่ในระดับพลังงาน E2  และจะเปลี่ยนระดับพลังงานเข้าสู่ระดับพลังงาน Ground  State  (E1จะต้องปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  ซึ่งเรียกว่า Photon  มีพลังงานเท่ากับ  4.9 eV
                                3.5 ฟรังก์และเฮิร์ตซ์  สรุปการทดลองว่า ในการชนระหว่างอิเล็กตรอนกับอะตอมจะดูดกลืนพลังงานได้เพียงบางจำนวนเท่านั้น  ซึ่งชี้ให้เห็นว่าระดับพลังงานของอะตอมไม่ต่อเนื่องกันเป็นไปตามทฤษฎีของโบร์  คือ 4.9 , 6.7 , และ  10.4 eV ดังรูป


11 การหารัศมีวงโคจรและพลังงานของอิเล็กตรอน

11  การหารัศมีวงโคจรและพลังงานของอิเล็กตรอน

อะตอมปกติอิเล็กตรอนจะมีพลังงานอยู่ใน สถานะพื้น (ground  state)  เมื่ออิเล็กตรอนได้รับพลังงานจากภายนอกที่เหมาะสมจะขึ้นไปอยู่บนวงโคจรใหม่ตามระดับขั้นของพลังงาน เรียกว่า  สถานะกระตุ้น (excited  state)  ทันที  (อิเล็กตรอนจะปฏิเสธการรับพลังงานที่มีปริมาณน้อยหรือเกินกว่าความเหมาะสมของขั้นพลังงาน)  อิเล็กตรอนจะอยู่ในสถานะกระตุ้นไม่ได้และจะกระโดดกลับลงมาที่สถานะพื้น  โดยปล่อยควอนตัมของพลังงานออกมาที่มีความถี่และความยาวคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ  กัน  สามารถจัดเป็นอนุกรมของเส้นสเปกตรัมของอะตอมไฮโดรเจนได้ดังนี้


                จากทฤษฎีของโบว์  แสดงว่าอะตอมของไฮโดรเจนมีวงโคจรอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสหลายวงโคจร  ซึ่งอิเล็กตรอนในแต่ละวงโคจรจะต้องมีพลังงานต่าง ๆ  ไม่ต่อเนื่องกัน  ดังนี้


10 ทฤษฎีอะตอมของโบร์


10     ทฤษฎีอะตอมของโบร์


1.   อิเล็กตรอนจะวิ่งวนรอบนิวเคลียสโดยมรวงโคจรบางวงที่อิเล็กตรอนไม่แผ่คลื่น
แม่เหล็กไฟฟ้าออกมา  ทั้งนี้เพราะอิเล็กตรอนมีโมเมนตรัมเชิงมุม ( mvr ) คงตัวเป็นจำนวนเท่าของค่ามูลฐานค่าหนึ่งคือ  n
                    จะได้ว่า        rn =  a0 n2
                                           rn =  5.3 X 10 -11  n2        มีหน่วยเป็นเมตร
                     และ             vn =  มีหน่วยเป็นเมตร/วินาที
                   เมื่อ   rn   คือ  รัศมีวงโคจรอิเล็กตรอนของอะตอมไฮโดรเจนวงที่ n
                            a0   คือ  ค่าคงตัว เรียกว่า รัศมีของโบว์ = 5.3 X 10 -11  เมตร
                                vn   คือ  ความเร็วอิเล็กตรอนของอะตอมไฮโดรเจนวงที่ n

                2.   อิเล็กตรอนจะรับหรือปล่อยพลังงานออกมาเมื่อมีการเปลี่ยนวงโคจร  พลังงานที่อิเล็กตรอนรับหรือปล่อยออกมาจะอยู่ในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
                           นั่นคือ                 E  =  | Ei - Ef  |
                    จะได้ว่า             hf  =    Ei - Ef 
                       เมื่อ  f   คือ  ความถี่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่อิเล็กตรอนรับหรือปล่อยออกมา ( Hz )
                             Ei  คือ พลังงานของอิเล็กตรอนในวงจรก่อนการเปลี่ยนแปลง ( J )
                             Ef  คือ พลังงานของอิเล็กตรอนในวงจรหลังการเปลี่ยนแปลง ( J )
                        สำหรับอะตอมของไฮโดรเจน   En  =  จูล   เมื่อกำหนดให้พลังงาน  1.6 x 10-19  จูลเท่ากับพลังงาน  1  อิเล็กตรอนโวลต์ ( eV )   
                                                En  =    eV
                        ระดับพลังงาน  - 13.6  eV  เป็นระดับพลังงานของอิเล็กตรอนอะตอมไฮโดรเจนวงในสุด  เรียกว่า  สถานะพื้น (ground  state)  ถ้าอิเล็กตรอนอยู่ในระดับพลังงานสูงกว่าสถานะพื้นหรือในวงโคจรที่  n มากกว่าหรือเท่ากับ 2  เรียกสภาวะนี้ว่า สถานะกระตุ้น (excited  state)  

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

9 ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก


9  ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก(Photoelectric  effect)
                          เมื่อเราทดลองฉายแสงตกกระทบที่แผ่นโลหะ  ซึ่งเป็นแคโทด  และมีแผ่นโลหะ  เป็นแอโนดในหลอดสุญญากาศ  จะทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกมาจากแผ่นโลหะ  C  ได้เรียกว่าปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก
                          เพื่อศึกษาปริมาณอิเล็กตรอนและพลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนที่หลุดจากผิวโลหะ  C  โดยใช้วงจรไฟฟ้าไมธครแอมมิเตอร์  และความต่างศักย์หยุดยั้ง ( Vs )  ดังรูป



รูปแสดงการวัดจำนวนโฟโตอิเล็กตรอน

รูปแสดงการวัดพลังงานจลน์ของโฟโตอิเล็กตรอน

                ผลศึกษาปรากฎการณ์โฟโตอิเล็กทริก  สรุปได้ดังนี้
                1.  โฟโตอิเล็กตรอนจะเกิดขึ้น  เมื่อแสงที่ตกกระทบโลหะมีความถี่ไม่น้อยกว่าค่าความถี่คงตัวค่าหนึ่งเรียกว่า  ค่าความถี่ขีดเริ่ม ( f0
                2.   จำนวนโฟโตอิเล็กตรอนจะเพิ่มขึ้น  เมื่อแสงที่ใช้มีความเข้มแสงมากขึ้น
               3.   พลังงานจลน์สูงสุด Ek ( max )  ของอิเล็กตรอนไม่ขึ้นกับความเข้มแสง  แต่ขึ้นกับค่าความถี่แสง


                แสงมีสมบัติเป็นก้อนพลังงาน ( photon )  เมื่อกระทบกับผิวโลหะจะถ่ายโอนพลังงานให้กับอิเล็กตรอนของโลหะทั้งหมด  hf  พลังงานส่วนหนึ่ง ( hf0 )  ทำให้อิเล็กตรอนหลุดจากผิวโลหะได้  ซึ่งเท่ากับพลังงานยึดเหนี่ยวอิเล็กตรอนของโลหะ  เรียกว่า ( work  function ) ใช้สัญลักษณ์  ( W )  และพลังงานที่เหลือเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนซึ่งเท่ากับพลังงานที่ใช้หยุดยั้งอิเล็กตรอนนั้น ( eVs
                                                                Ekmax =   eV =  hf -  W 
                                                 eVS   =    hf -  hf0
                                                                    VS   =   f  -  f0