วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

14 ทวิภาพของคลื่นและอนุภาค


14    ทวิภาพของคลื่นและอนุภาค  (Ware-Particle dualify)           
                1.  เราทราบว่าแสงแสดงคุณสมบัติเป็นคลื่นเพราะ แสดงการเลี้ยวเบนและการแทรกสอด (Diffraction  and  Interence)
                2.  จากปรากฎการณ์โฟโตอิเล็กทริก ไอน์สไตน์คิดว่า โฟตอนเป็นอนุภาค
                3.  มิลลิแกนทดลองและสรุปว่า แสงเป็นอนุภาค
                4.  เดอ บรอยล์ (de  Broglie) ให้แนวคิดว่า ถ้าแสงแสดงคุณสมบัติคู่เป็นได้ทั้งอนุภาคและคลื่นแล้ว  สสารทั้งหลายแสดงคุณสมบัติของคลื่นได้เนื่องจากสสารประกอบด้วยอนุภาค
                5. แนวคิดของเดอบรอยล์ เกี่ยวกับอิเล็กตรอน
                                จากความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับมวลของไอน์สไตน์
                                                E  =  mc2  และ  E  =  hf
                                เดอบรอยล์  หาความสัมพันธ์ระหว่างโมเมนตัมและความยาวคลื่นของแสงได้ดังนี้
      

เมื่อ  คือ  โมเมนตัมของโตอน (N.s)
        l คือ  ความยาวคลื่นของโฟตอน (m)
=

เมื่อ l คือ  ความยาวคลื่นของอนุภาค (m
                                                       คือ  มวลของอนุภาค (kg)
                                                        v  คือ  ความเร็วของอนุภาค (m/s)
                ความยาวคลื่นของอนุภาคหรือความยาวคลื่นสสารนี้  เรียกว่า  ความยาวคลื่น  เดอ  บรอยล์

- ปรากฏการณ์คอมป์ตัน

                 คอมป์ตัน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มของรังสีเอกซ์และขนาดของมุมการกระเจิงกับความยาวคลื่นกระเจิงของรังสีเอกซ์  จากการฉายรังสีเอกซ์ให้ไปกระทบกับอิเล็กตรอนของแท่งแกรไฟต์  พบว่า  ความยาวคลื่นรังสีเอ็กซ์ที่กระเจิงออกมาแปรผันกับมุมที่กระเจิง  แต่ไม่ขึ้นกับความเข้มของรังสีเอกซ์ที่กระทบกับอิเล็กตรอน



                จากปรากฏการณ์อธิบายโดยอาศัยหลักแนวคิดของไอน์สไตน์ได้อย่างเดียวว่าการชนระหว่างรังสีเอกซ์กับอิเล็กตรอนของแกรไฟต์เป็นการชนระหว่างอนุภาคกับอนุภาค  โดยเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์พลังงานและกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม ดังนี้
                1.  รังสีเอกซ์ที่กระเจิงออกมาโดยมีความยาวคลื่นเท่าเดิม  แสดงว่าโฟตอนของรังสีเอกซ์กับอิเล็กตรอนของแท่งแกรไฟต์ชนกันแบบยืดหยุ่น
                2.   รังสีเอกซ์ที่กระเจิงออกมาโดยมีความยาวคลื่นไม่เท่าเดิม  แสดงว่า โฟตอนของรังสีเอกซ์กับอิเล็กตรอนของแท่งแกรไฟต์ชนกันแบบไม่ยืดหยุ่น

-  สมมติฐานของเดอ  บรอยล์

                 ในปี ค. . 1924  นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสชื่อหลุยส์ เดอบรอยล์  (Louis  de  Broglie ) ได้ให้ความเห็นว่าแสงมีคุณสมบัติเป็นได้ทั้งคลื่นแสงและอนุภาค กล่าวคือในกรณีที่แสงมีการเลี้ยวเบนและการสอดแทรก แสดงว่าขณะนั้นแสงประพฤติตัวเป็นคลื่น  สำหรับกรณีแสงในปรากฎการณ์โฟโตอิเล็กทริก แสดงว่าแสงเป็นอนุภาค  ฉะนั้นสสารทั่วไปที่มีคุณสมบัติเป็นอนุภาคก็น่าจะมีคุณสมบัติทางด้านคลื่นด้วย เดอบรอยล์ได้พยายามหาความยาวคลื่นของคลื่นมวลสาร โดยทั่วไปเริ่มจากความยาวคลื่นของแสงก่อน ดังต่อไปนี้
                         ถ้าแสงมีความถี่  จะให้พลังงานออกมาเป็นอนุภาคเรียกว่าโฟตอนซึ่งมีขนาด
                                                      E    =   h

                        จากทฤษฎีสัมพัทธภาพของ ไอน์สไตน์ มวล m ถ้าเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจะมีค่าเท่ากับ  mc2  ดั้นนั้นถ้าเราต้องการหามวลของโฟตอน เราสามารถหาได้จากสมการของไอน์สไตน์
                                          จาก      E    =    mc2   
                                      ให้โฟตอนขนาด  hf   มีมวลเท่ากับ  m
                                      แทนค่าในสมการไอน์สไตน์จะได้    hf   =  mc2  
                                                         

                                               
                                         แต่ mc   =    โมนเมนตัมของโฟตอน  = P

                         เดอบรอยล์มีความเห็นว่าเมื่อสมการข้างบนเป็นจริงสำหรับกรณีของโฟตอน ก็ควรจะเป็นจริงกับอนุภาคด้วย
                         ดังนั้น  อนุภาคที่มีมวล  m  วิ่งด้วยความเร็ว  V ก็น่าจะประพฤติตัวเป็นคลื่นที่มีความยาวคลื่น   l   ได้เช่นกัน  
                         นั่นคือความยาวคลื่นของอนุภาคของมวล ที่วิ่งด้วยอัตราเร็ว  V ย่อมมีค่า


                        นอกจากนี้แนวความคิดของเดอ บรอยล์    ยังได้รับการสนับสนุนจากการทดลองของเดวิสสันและเกอร์เมอร์โดยการยิงลำอิเล็กตรอนผ่านผลึก  ซึ่งมีอะตอมเรียงกันเป็นระเบียบ  ปรากฏว่าลำอิเล็กตรอนเกิดการเลี้ยวเบนขึ้น  จึงแสดงว่าขณะนั้นการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนเป็นคลื่น



 

รูปแสดงการเลี้ยวเบนของลำอิเล็กตรอน         รูปแสดงการเลี้ยวเบนของลำอิเล็กตรอน
                       ที่ผ่านผลึกทองคำ                                                       แผ่นอะลูมิเนียม
ข้อสังเกต    1. คลื่นที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนเรียกคลื่นอนุภาค เราหาความยาวคลื่นได้    
                                             จาก      
                   2.  คลื่นที่เกิดจากการเร่งอิเล็กตรอนเข้าชนชนโลหะแข็งเรียกคลื่นรังสีเอกซ์เป็นโฟตอน
                                       หาความยาวคลื่นได้จาก  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น