9 ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก(Photoelectric effect)
เมื่อเราทดลองฉายแสงตกกระทบที่แผ่นโลหะ C
ซึ่งเป็นแคโทด
และมีแผ่นโลหะ A เป็นแอโนดในหลอดสุญญากาศ จะทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกมาจากแผ่นโลหะ C ได้เรียกว่าปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก
เพื่อศึกษาปริมาณอิเล็กตรอนและพลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนที่หลุดจากผิวโลหะ C
โดยใช้วงจรไฟฟ้าไมธครแอมมิเตอร์
และความต่างศักย์หยุดยั้ง ( Vs ) ดังรูป
รูปแสดงการวัดจำนวนโฟโตอิเล็กตรอน
รูปแสดงการวัดพลังงานจลน์ของโฟโตอิเล็กตรอน
ผลศึกษาปรากฎการณ์โฟโตอิเล็กทริก สรุปได้ดังนี้
1. โฟโตอิเล็กตรอนจะเกิดขึ้น
เมื่อแสงที่ตกกระทบโลหะมีความถี่ไม่น้อยกว่าค่าความถี่คงตัวค่าหนึ่งเรียกว่า ค่าความถี่ขีดเริ่ม ( f0
)
2. จำนวนโฟโตอิเล็กตรอนจะเพิ่มขึ้น เมื่อแสงที่ใช้มีความเข้มแสงมากขึ้น
3. พลังงานจลน์สูงสุด Ek
( max )
ของอิเล็กตรอนไม่ขึ้นกับความเข้มแสง
แต่ขึ้นกับค่าความถี่แสง
แสงมีสมบัติเป็นก้อนพลังงาน
( photon )
เมื่อกระทบกับผิวโลหะจะถ่ายโอนพลังงานให้กับอิเล็กตรอนของโลหะทั้งหมด hf พลังงานส่วนหนึ่ง ( hf0 ) ทำให้อิเล็กตรอนหลุดจากผิวโลหะได้
ซึ่งเท่ากับพลังงานยึดเหนี่ยวอิเล็กตรอนของโลหะ เรียกว่า ( work function ) ใช้สัญลักษณ์ ( W )
และพลังงานที่เหลือเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนซึ่งเท่ากับพลังงานที่ใช้หยุดยั้งอิเล็กตรอนนั้น
( eVs
)
Ekmax = eVS
= hf -
W
eVS =
hf - hf0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น