วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

13 รังสีเอ็กซ์


13 รังสีเอ็กซ์ 
             เรินต์เกน (Wilhelm Konrad Roentgen ) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ได้พบรังสีเอกซ์  โดยบังเอิญ  ในปีพ.. 2438 (.. 1895 )   ในขณะที่กำลังทดลองเกี่ยวกับรังสีแคโทด เรินท์เกน คลุมหลอดทดลองด้วยกระดาษดำในห้องทดลองที่มืด   ขณะที่ประจุเคลื่อนที่ในหลอด    เขาสังเกตเห็นแสงเรืองขึ้นบริเวณโต๊ะที่ทำการทดลอง  แสดงว่าจะต้องมีรังสีบางชนิดที่มอง   ไม่เห็นและสามารถทะลุออกมาจากหลอดแคโทด   ซึ่งแสดงว่ามีอำนาจทะลุทะลวงสูง   รังสีนี้เขาตั้งชื่อว่า   X – ray   
                คุณสมบัติของรังสีเอกซ์
              1.  ไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า
              2.   เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก
1.             มีอำนาจทะลุทะลวงสูง
2.             ทำให้ก๊าซแตกตัวเป็นไอออนได้
3.             ทำให้สารเรืองแสงเกิดสารเรืองแสงได้
4.             ทำปฏิกิริยากับแผ่นฟิล์ม
5.             รังสีเอกซ์มีอันตรายและทำลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้
6.             เมื่อรังสีเอกซ์  กระทบบนแผ่นโลหะสามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์โฟโตอิ
เล็กทริกได้   ทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกมาด้วยความเร็ว  6 x105 ถึง  8.3 x 105 เมตร/วินาที
การเกิดรังสีเอกซ์
                                การเกิดรังสีเอกซ์เกิดจากอิเล็กตรอนวิ่งเข้าชนอะตอมของเป้าทังสเตนแล้วหยุด จะปลดปล่อยรังสีเอกซ์ที่มีพลังงานสูงสุด   หรือเมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ช้าลงจะปลดปล่อยพลังงานค่าต่างๆ เมื่ออิเล็กตรอนวิ่งชนอะตอมของเป้าแล้วหยุด  พลังจลน์ทั้งหมดของอิเล็กตรอนจะเปลี่ยนเป็นพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในรูปของรังสีเอกซ์  ดังนั้น

 

Ekmax    =    eV    =    hfmax

 eV = 



 

lmin  =

                เมื่อ    lmin   =   ความยาวคลื่นของรังสีเอกซ์ (m)
                                h     =    ค่าคงตังของแพลงค์       =    6.6  x  10-34    J/ S
                                e     =     ประจุของอิเล็กตรอน     =     1.6   x   10-19     C
                                V    =     ความต่างศักย์ที่ใช้เร่งประจุ   =     200   x  103   V
                                c     =     ความเร็วแสง    =   3.0   x   108    m/s

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น